.

7 วิธีดูแลผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อม

.

ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน  โดยมีตั้งแต่อาการน้อยๆ  เช่น การหลงลืมเล็กน้อย (Mild Cognitive  Impairment )  จนถึงขั้นรุนแรง เป็นอาการทางจิตเวช  เช่น ความวิตกกังวลแบบผิดปกติ ภาวะซึมเศร้า โรคจิตต่างๆ  ซึ่งก่อให้เกิดกลุ่มอาการต่างๆ ตามภาวะความเสื่อมของสมอง

หลักการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม

1. ผู้ดูแล,ญาติ,คนรอบข้าง ต้องเข้าใจภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้น โดยยึดหลัก

–  ไม่โกรธ หรือโมโห  ถ้าผู้ป่วยทำอะไรไม่เหมาะสม
–  อาการหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เกิดจากโรคที่ทำให้มีอาการเช่นนั้น
–  ไม่หัวเราะ หรือขำพฤติกรรมต่างๆ  เพราะอาจกระตุ้นอาการได้
–  ไม่พยายามบังคับให้ผู้ป่วยจำ หรือทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
–  ถ้าผู้ป่วยหงุดหงิด  ควรหยุดพฤติกรรมทันที
–  ยืดหยุ่น ปรับตัว และยอมรับการเปลี่ยนแปลง
–  ลดความคาดหวังในตัวผู้ป่วยลง

.

2. ดูแลเหมือนผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ที่ต้องให้ :

–  ความเคารพ  (ให้เกียรติในการตัดสินใจบางอย่าง)  ขอความเห็น , บอกให้ทราบ
–  ความเอาใจใส่ (ถามความรู้สึก พูดคุยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ดูแลความเป็นอยู่)
–  มีกิจกรรมร่วมกัน (ไปเที่ยว ,เดินเล่น,ร้องเพลง,ดูโทรทัศน์)

.

3. มองหาความสามารถของท่านที่ยังคงอยู่ (มองหาส่วนดีเพื่อเสริม,  ไม่ให้เสื่อมลงเร็ว)

เช่น จัดสวน ,ทำกับข้าว,ประดิษฐ์สิ่งของ,ทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ,เลี้ยงสัตว์

.

4. การจัดสภาพแวดล้อม

ให้ผู้ป่วยอยู่ในที่คุ้นเคย เช่น บ้านตนเอง, เครื่องใช้ในบ้าน ไม่ควรมีการเคลื่อนย้ายบ่อย หรือไม่เป็นระเบียบ, สิ่งแวดล้อมปลอดภัย ไม่ลื่นล้มง่าย, การเปิดวิทยุ,โทรทัศน์ไม่ควรมีเสียงดังหรือเร็วเกินไป, ควรมีผู้ดูแลประจำ, ระวังการตกระเบียง, ระวังเรื่องไฟ,ทางเดินไปห้องน้ำควรสะดวก ชัดเจน,แสงสว่างเพียงพอในที่ที่ผู้ป่วยเดินไปถึง ระวังแสงที่ทำให้เกิดเงา,กระจกควรมีเฉพาะที่แต่งตัวและที่อาบน้ำ

.

5. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ

แสงที่นุ่มนวลและสีที่ดูสงบ เช่น สีครีม, จัดสถานที่ให้เรียบร้อย  ไม่รกรุงรัง ,ใช้พรมดูดซับเสียง, การใช้กระจกตกแต่งภายใน อาจเกิดเงาและกระตุ้นให้ผู้ป่วยกลัว การออกแบบที่อยู่ที่ซับซ้อน,การเปลี่ยนสภาพห้องบ่อยๆ  ทำให้สับสนได้ง่าย,เสียงกริ่งดังเกินไป กระตุ้นให้ผู้ป่วยกลัวและตกใจได้

.

6. การดูแลทั่วไป

มีการพักผ่อนและกิจกรรมที่เหมาะสม, ความหิวและภาวะขาดสารอาหารทำให้คนไข้วุ่นวายได้ ,การขับถ่ายผิดปกติ ,การเต่งตัว และสุขอนามัย  ,การกระตุ้นการเคลื่อนไหวและการออกกำลัง, การสัมผัสทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นสบาย, ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยบ่อยๆ ว่าอยู่ที่ไหน และมีความปลอดภัย, การพบผู้คนและการเข้าสังคม, มีญาติหรือเพื่อนที่เข้าใจมาเยี่ยม, ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว

.

7. พฤติกรรมบำบัด

จัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้เงียบหรือดังเกินไป, พูดคุยกับผู้ป่วยบ่อยๆ ด้วยเสียงเรียบๆ พูดซ้ำๆ, วางของให้เป็นที่, เปิดไฟในห้องให้สว่าง, บอกสถานที่ต่างๆ อยู่เสมอ  เพื่อลดความสับสน,ชมเชยให้รางวัลเมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

.

ผลิตภัณฑ์ “กิงโกวิต้า” ได้รับมาตรฐาน อย 11-1-06353-1-0401
และมาตรฐานโรงงานจากยุโรปและ GMP

GinkgoVita ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลและป้องกันสมองเสื่อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

สามารถสอบถามหรือสั้งซื้อ GinkgoVita

ได้ทาง LINE เพียงแค่กดปุ่มด้านล่างเพื่อ “ADD FRIEND”

 

เพิ่มเพื่อน

 

หรือ Facebook INBOX เพียงคลิกปุ่มด้านล่าง

Facebook inbox