.

อย่างไรจึงเรียกว่า “อ่อนล้าเรื้อรัง”

.

     กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome, CFS) เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังแต่ประการใด และการพักผ่อนก็ไม่ช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น รวมถึงอาจจะพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย และต้องมีอาการอ่อนล้าเรื้อรังเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการหลังการเป็นไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ดี กลไกการเกิดโรคจะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและระบบต่อมไร้ท่อ ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลกจึงได้จัดกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังเป็นโรคทางระบบประสาท 

     แต่เนื่องจากกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังจะมีอาการที่หลากหลาย หลายหน่วยงานจึงให้คำจำกัดความดังต่อไปนี้ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (พ.ศ.2537) ให้คำจำกัดความว่า เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบด้วยอาการอ่อนล้าร่วมกับอาการอื่นๆ ตั้งแต่ 4อาการขึ้นไป เกณฑ์ของออกซ์ฟอร์ด (พ.ศ.2534) กล่าวว่า

     กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังเป็นกลุ่มอาการที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน บางครั้งจึงเรียกว่ากลุ่มอาการอ่อนล้าหลังติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงอาการสมองอ่อนล้า และอาจจะมีความผิดปกติทางจิตร่วมด้วย

     กลุ่มงานคลินิกแคนาเดียน (พ.ศ.2543) ให้ความจำกัดความว่า เป็นอาการอ่อนล้าหลังออกกำลัง รบกวนการนอนหลับ และมีอาการปวด อาจจะมีอาการทางประสาทตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป โดยมีความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ ต่อมไร้ท่อ ภูมิคุ้มกัน และมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน 

.

สาเหตุ
ถึงปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการโรคนี้ และยังไม่มีการตรวจยืนยันด้วยห้องปฏิบัติการ

.

กลุ่มเสี่ยง
กลุ่มอาการนี้พบ 7-3,000 คนต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้เนื่องจากคำจำกัดความของโรคที่แตกต่างกันดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง แต่องค์กรสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกาได้ประเมินว่า ชาวอเมริกันมากกว่า 1,000,000 คนเป็นโรคนี้ และในประเทศอังกฤษพบราว 250,000 คน ส่วนใหญ่พบในคนที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี ปี สำหรับในประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่ เวียดนามพบ 151,953 คน ฟิลิปปินส์ 158,532 คน สิงคโปร์ 8,003 คน ส่วนประเทศไทยพบว่ามีคนเป็นโรคนี้ 119,238 คน 

กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ แต่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบมากในคนที่มีอายุระหว่าง 40-59 ปี ซึ่งอาจจะมีคนในครอบครัวมีอาการเช่นนี้ด้วย แต่ไม่ใช่โรคติดต่อ

.

อาการ 
กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังจะเกี่ยวข้องกับโรคหลายๆ ระบบ จึงทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ สมาธิสั้น เป็นต้น จนมีผลต่อร่างกายและจิตใจในที่สุด สำหรับอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้อีกก็อย่างเช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความรู้สึกไว เปลี่ยนท่าเร็วๆ ไม่ได้ อาหารไม่ย่อย ซึมเศร้า และภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เกิดปัญหากับหัวใจและปอด เป็นต้น

.

อาการแสดง
 อาการเริ่มต้น ส่วนใหญ่มักเกิดอาการอย่างเฉียบพลันทันที เช่น มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาจึงให้เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคนี้ไว้ว่าต้องประกอบด้วยอาการอ่อนล้าที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับการออกแรง จนมีผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน และแม้จะพักก็ไม่หาย

รวมถึงต้องมีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 4 อย่างขึ้นไปเป็นเวลานานอย่างน้อย 6 เดือน คือ

– ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อมถอย
– ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลัง รู้สึกว่าร่างกายและสมองเกิดความอ่อนล้า
– หลับไม่เต็มอิ่ม
– ปวดกล้ามเนื้อ
– ปวดข้อหลายข้อ
– ปวดหัวอย่างรุนแรง
– เจ็บคอบ่อยๆ
– เจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอ หรือรักแร้
และอาจจะมีอาการที่ตรวจพบร่วมด้วย ได้แก่
– ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย
– หนาวสั่นและเหงื่อออกในเวลากลางคืน
– สมาธิสั้น
– เจ็บหน้าอก
– หายใจติดขัด
– ไอเรื้อรัง
– การมองเห็นผิดปกติ ( ภาพเบลอ ไวต่อแสง ปวดตา หรือตาแห้ง)
– แพ้หรือไวต่ออาหาร แอลกอฮอล์ กลิ่น สารเคมี ยาหรือเสียง
– ยืนนานๆ จะมีอาการเป็นลม วิงเวียน ใจสั่น มึนศีรษะ เซ ทรงตัวไม่อยู่
– มีปัญหาด้านจิตใจ (ซึมเศร้า อารมณ์ไม่แน่นอน ตื่นเต้น หวาดกลัว)

.

การทำงาน ความพิการและสุขภาพ ผู้ป่วยมักจะบอกว่ามีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง โดยเฉพาะงานที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายๆ กับคนที่เป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเอดส์ระยะท้าย โรคลูปัส โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และอาจจะส่งผลต่อการทำงานมากกว่าโรคบางโรค เช่น หัวใจล้มเหลว เบาหวาน เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยประมาณ 2 ใน 3 จะทำงานได้น้อยลง หากได้พักอาการก็จะดีขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว แต่ไม่สามารถกลับมาทำงานอย่างเต็มที่ได้เหมือนเดิม
เชาวน์ปัญญา ผู้ป่วยอาจจะมีเชาวน์ปัญญาเสื่อมถอยเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากสมาธิ ความจำและการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงต้องใช้เวลานานขึ้นในการทำความเข้าใจงานที่ทำ จนอาจจะเกิดความเสียหายในการทำงานได้ รวมถึงยังมีความสามารถในการรับรู้ การพูด การใช้ภาษา และความมีเหตุผล ลดลง

.

การวินิจฉัย
เนื่องจากยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จะช่วยยืนยันสาเหตุของโรคนี้ การวินิจฉัยส่วนใหญ่จึงต้องใช้วิธีการสอบประวัติเป็นส่วนใหญ่

.

การรักษา
แม้ว่าจะเป็นโรคที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย หากไม่ได้รับการรักษา แต่เนื่องจากยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง ทำให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเป็นต้องค้นหาสาเหตุของโรตตามอาการที่ปรากฎ ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาใดๆ ที่ทำให้โรคนี้หายขาดได้ จึงมีผู้ป่วยเพียง 5 % ที่มีโอกาสหายขาด จากการรักษาตามอาการ ขณะที่ผู้ป่วยจำนวนมากไม่หายขาด แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยวิธีการดูแลเรื่องอาหาร การทำกายภาพบำบัด การให้อาหารเสริม ยาต้านโรคซึมเศร้า ยาบรรเทาปวด และการรักษาโดยแพทย์ทางเลือก แต่การรักษาบางอย่างก็ให้ผลดีที่น่าสนใจดังนี้

การรักษาเชาวน์ปัญญาและพฤติกรรม ซึ่งเป็นการแก้ไขอาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป วันต่อวัน เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดอาการของโรคได้ในผู้ป่วยบางราย โดยข้อมูลจากการทบทวนผลงานในการศึกษา(literature review) 15 การศึกษาที่ทำกับผู้ป่วยจำนวน 1,043 รายพบว่า การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นถึง 40% เมื่อเทียบกับการรักษาทั่วๆ ไปที่ได้ผลเพียง 26%
การทำกายภาพบำบัด มีการศึกษาพบว่า หลังการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดนาน 12 สัปดาห์ขึ้นไป ทำให้อาการอ่อนล้าของผู้ป่วยดีขึ้น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะเป็นๆ หายๆ และมีระดับความรุนแรงที่ไม่แน่นอน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ด้วยการให้ผู้ป่วยจัดตารางกิจวัตรประจำวันใหม่ ให้มีการออกกำลังและการพักผ่อนที่สมดุลกัน โดยค่อยๆ เริ่มออกกำลังทีละน้อยในช่วงแรก เพื่อให้ผู้ป่วยมีเวลาปรับตัว เพราะการหักโหมมากเกินไปจะทำให้อาการแย่ลง หลังจากที่ปรับตัวได้จึงค่อยๆ เพิ่มกิจกรรมการออกกำลังให้มากขึ้น จนกระทั่งผู้ป่วยสามารถออกกำลังได้เป็นกิจกรรมประจำวัน
การรักษาอื่นๆ ส่วนวิธีการรักษาอื่นๆ เช่น การใช้ยาต้านโรคซึมเศร้า การใช้สารปรับเปลี่ยนภูมิคุ้มกัน ยานอนหลับ เป็นวิธีการที่ยังให้ผลการรักษาไม่ดีนัก

.

การฟื้นตัว
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเพียงร้อยละ 5 ส่วนผู้ป่วยที่สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8-30 (แล้วแต่ผลการศึกษา) รวมถึงการฟื้นตัวยังมีความสัมพันธ์กับอายุ โดยผู้ที่มีอายุน้อยและไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆ มีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้มากกว่า

.

ผลิตภัณฑ์ “กิงโกวิต้า” ได้รับมาตรฐาน อย 11-1-06353-1-0401
และมาตรฐานโรงงานจากยุโรปและ GMP

GinkgoVita เพิ่มพลังสมองเปิดความคิดสร้างสรรค์

สามารถสอบถามหรือสั้งซื้อ GinkgoVita

ได้ทาง LINE เพียงแค่กดปุ่มด้านล่างเพื่อ “ADD FRIEND”

 

เพิ่มเพื่อน

 

หรือ Facebook INBOX เพียงคลิกปุ่มด้านล่าง

Facebook inbox